วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สอนการใช้งานโปรแกรม Sony vegas Pro 10

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ 
    ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก  เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี  เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐานสามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก  มีราคาถูกลง  สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งให้บริการด้านข้อมูล  ข่าวสารด้วยกลไกอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก  รวดเร็วตลอดเวลา  จะเห็นว่าชีวิตปัจจุบันเกี่ยวข้อง กับเทคโนโลยีเป็นอันมาก  ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการทำงาน 


รูปที่ 1.1 การติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียม 

    เราลองจินตนาการดูว่า  เราเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านใดบ้างจากตัวอย่างต่อไปนี้   เมื่อตื่นนอนเราอาจได้ยินเสียงจากวิทยุ  ซึ่งกระจายเสียงข่าวสารหรือสาระบันเทิง  เราใช้โทรศัพท์สื่อสารกับเพื่อน  ดูรายการทีวีหรือวีดิทัศน์  ระหว่างมาโรงเรียนเดินทางผ่านถนนที่มีระบบไฟสัญญาณที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์  ที่ศูนย์การค้าเราขึ้นลิฟต์ ขึ้นบันไดเลื่อนที่มีการควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์  ที่บ้านอาจมีเครื่องปรับอากาศที่ควบคุมอุณหภูมิโดยอัตโนมัติ  ทำอาหารด้วยเตาอบ  ซึ่งควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์  ซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า  จะเห็นว่าชีวิตในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอันมาก  อุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบในการทำงาน 

   
รูปที่ 1.2 เครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน 

    ในอดีตยุคที่มนุษย์ไม่มีถิ่นฐานแน่นอน   มีชีวิตที่เร่ร่อน   มีอาชีพเกษตรกรรม  ล่าสัตว์  ต่อมามีการรวมตัวกันเป็นสังคมเมือง    และทำให้เกิดการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าและบริการปริมาณมาก สังคมจึงเป็นสังคมเมืองที่มีอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง  แต่หลังจากปี พ.ศ. 2530  เป็นต้นมา  ระบบสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ก้าวหน้ามาก  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศ  ชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก  การสื่อสารโทรคมนาคมกระจายทั่วถึง  ทำให้ข่าวสารแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว  สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมไร้พรมแดน  เพราะเรื่องราวของประเทศหนึ่งสามารถกระจายแพร่ไปยังประเทศต่าง ๆ  ได้อย่างรวดเร็ว 

นิยามเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
    คำว่า   “เทคโนโลยี”     หมายถึง    การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์  การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ  กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ    และการนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์    เทคโนโลยีจึงเป็นคำที่มีความหมาย กว้างไกล  เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดเวลา 


รูปที่  1.3 วงจรรวม 

    ส่วนคำว่า “สารสนเทศ”  หมายถึง  ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์  มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ  เป็นจำนวนมาก     เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่    กฎเกณฑ์และวิชาการ 


รูปที่  1.4 สื่อที่ช่วยในการรับส่งข้อมูลข่าวสาร 

    ภายในสมองมนุษย์ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลไว้มากมายจะมีข้อจำกัดในการจัดเก็บ  การเรียกใช้  การประมวลผล  และการคิดคำนวณ  ดังนั้นจึงมีผู้พยายามสร้างเครื่องจักรเครื่องมือ  เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำได้มาก สามารถให้ข้อมูลได้แม่นยำและถูกต้องเมื่อมีการเรียกค้นหา  ทำงานได้ตลอดวันไม่เหน็ดเหนื่อย  และยังส่งข้อมูลไปได้ไกลและรวดเร็วมาก  เครื่องจักร  อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสารสนเทศนั้นมีมากมายตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์รอบข้าง  ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่   ทำให้เกิดงานบริการที่อำนวยความสะดวกต่างๆในชีวิตประจำวัน 
    เมื่อรวมคำว่า “เทคโนโลยี” กับ “สารสนเทศ”  เข้าด้วยกัน  จึงหมายถึง  เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ  เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล  การประมวลผล  การพิมพ์  การสร้างรายงาน  การสื่อสารข้อมูล  ฯลฯ  เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึง  เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ  การใช้  และการดูแลข้อมูล 


รูปที่  1.5 การฝากถอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม 

    เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความหมายที่กว้างขวาง   รอบ ๆ ตัวที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอยู่มาก  ดังนี้
        1. การเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ  นักเรียนอาจเห็นพนักงานการไฟฟ้าไปที่บ้านพร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้าในการสอบที่มีผู้เข้าสอบจำนวนมากก็มีการใช้เดินสอดำระบายตามช่องที่เลือกตอบ  เพื่อให้เครื่องอ่านเก็บรวบรวมข้อมูลได้  เมื่อไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าก็มีการใช้รหัสแท่ง (bar code)  พนักงานจะนำสินค้าผ่านการตรวจของเครื่องอ่านรหัสแท่งเพื่ออ่านข้อมุลการซื้อสินค้า  เมื่อไปที่ห้องสมุดก็พบว่าหนังสือมีรหัสแท่งเช่นเดียวกัน  การใช้รหัสแท่งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการข้อมูล  จะเห็นได้ว่าการเก็บ
รวบรวมข้อมูลจากคอมพิวเตอร์สามารถเก็บได้หลายแบบ 


รูปที่ 1.6 ตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูล  โดยพนักงานใช้เครื่องกราดตรวจอ่านรหัสแท่ง 

        2. การประมวลผล  ข้อมูลที่เก็บมาได้มักจะเก็บในสื่อต่าง ๆ  เช่น  แผ่นบันทึก  
แผ่นซีดี  และเทป  ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาประมวลผลตามความต้องการ  เช่น  แยกแยะข้อมูล
เป็นกลุ่ม  เรียงลำดับข้อมูล  คำนวณ  หรือจัดการคัดแยกข้อมูลที่จัดเก็บนั้น 


รูปที่ 1.7 ตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยพนักงานใช้เครื่องกราดตรวจอ่านรหัสแท่ง 

        3. การแสดงผลลัพธ์  คือการนำผลจากการประมวลผลที่ได้  มาแสดงผลลัพธ์ให้อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ   อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์มีมาก  สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ  รูปภาพ   ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษ     การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ     เสียง  และวีดิทัศน์  เป็นต้น 
  
 
รูปที่ 1.8 การแสดงผลลัพธ์ทางเครื่องพิมพ์ 

        4. การทำสำเนา  เมื่อมีข้อมูลที่จัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ  การทำสำเนาจะทำ
ได้ง่าย  และทำได้เป็นจำนวนมาก  อุปกรณ์ที่ช่วยในการทำสำเนาจัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศอีกประเภทหนึ่งที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง  เรามีเครื่องพิมพ์  เครื่องถ่ายเอกสาร  อุปกรณ์การเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์  เช่น  แผ่นบันทึก  ซีดีรอม  ซึ่งสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก 

 
รูปที่  1.9 ตัวอย่างการทำสำเนา 

        5. การสื่อสารโทรคมนาคม  เป็นวิธีการที่จะส่งข้อมูลหรือข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง  หรือกระจายออกไปยังปลายทางครั้งละมากๆ  ปัจจุบันมีระบบสื่อสารโทรคมนาคมหลายประเภท    ตั้งแต่โทรเลข  โทรศัพท์  โทรสาร  วิทยุ  โทรทัศน์  และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบของสื่อหลายอย่าง  เช่น  สายโทรศัพท์  เส้นใยนำแสง  เคเบิลใต้น้ำ  คลื่นวิทยุ  ไมโครเวฟ   และดาวเทียม


รูปที่  1.10 การสื่อสารโทรคมนาคม 


ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
    โดยพื้นฐานของเทคโนโลยี ย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้  แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก   ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีดังนี้
        1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การทำงานรวดเร็ว  ถูกต้อง  และแม่นยำ   ในระบบการจัดการขององค์กรทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและตัดสินใจ    ระบบธุรกิจจึงใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นเครื่องมือช่วยในการดำเนินการเพื่อให้การทำงานมีความรวดเร็ว  ถูกต้อง  และแม่นยำ  เช่น  ใช้ในระบบฝากถอนเงิน และระบบจองตั๋วเครื่องบิน
        2. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยทำให้การบริการกว้างขวางขึ้น  เมื่อมีการพัฒนาระบบเก็บและใช้ข้อมูล  ทำให้การบริการต่างๆอยู่ในรูปแบบการบริการแบบกระจาย  ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน  สามารถถามข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์  นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
        3. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ  ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลและรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในองค์กร  ประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์  ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล  ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษีซึ่งในปัจจุบันองค์กรทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ 

 
รูปที่  1.11 เว็บไซต์ระบบทะเบียนราษฎร์ 

        4. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยงานในชีวิตประจำวัน   


รูปที่ 1.12 สารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ 


ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ    ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมมีมาก  มีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง  ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศกล่าวไว้ดังนี้
        1. การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม  เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น  มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน  เช่น  ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ  ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน  เป็นต้น 


รูปที่ 1.13 ตัวอย่างการใช้รีโมทเพื่อความสะดวกในการควบคุมโทรทัศน์ 

        2. เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง  แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร  ทำให้มีการกระจายโอกาสการเรียนรู้  มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล  การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล  นอกจากนี้ในปัจจุบันมีความพยายามที่ใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร 
        3. สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน  การเรียนการสอนในโรงเรียน มีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา  จัดตารางสอน  คำนวณระดับคะแนน  จัดชั้นเรียน  ทำรายงาน  เพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน  ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมากขึ้น 


รูปที่ 1.14 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน 

        4. เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่าง  จำเป็นต้องใช้สารสนเทศ  เช่น  การดูแลรักษาป่า  จำเป็นต้องใช้ข้อมูล  มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม  การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ  การพยากรณ์อากาศ  การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข  การเก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่างๆ  การตรวจวัดมลภาวะ  ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย  ที่เรียกว่า โทรมาตร  เป็นต้น 


รูปที่ 1.15 ภาพถ่ายจากการสื่อสารผ่านดาวเทียมแสดงสภาวะพื้นดินและวัดมลภาวะ 

        5. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ  กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี  อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม  มีการใช้ระบบป้องกันภัย  ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน

  
รูปที่  1.16 เรือจักรีนฤเบศร์ 

        6. การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม  การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก  ราคาถูกลง  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก  มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ  การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า  เพื่อให้ซื้อสินค้าสะดวกขึ้น 


รูปที่  1.17 ตัวอย่างกระบวนการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม 

        7. ความคิดและการสร้างสรรค์  เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน  และมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้น 


อ้างอิงจาก
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=349
http://a.1asphost.com/chalin623/drinking48/information1/techno1_1.htm
http://blog.eduzones.com/kittipung/33214

ความหมายของสื่อการเรียนการสอน


ความหมายของสื่อการเรียนการสอน 

       สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยน,แปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนตลอด และยังได้รับการพัฒนาไปตาการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง นักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษาเป็นต้น

สื่อการเรียนการสอนมีประโยชน์สำหรับครูผู้สอนอย่างไร
       สื่อการเรียนการสอนสามรถช่วยการเรียนการสอนของครูได้ดีมากซึ่งเราจะเห็นว่าครูนั้นสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้มากทีเดียว แถมยังช่วยให้ครูมีความรู้มากขึ้นในการจัดแหล่งวิทยาการที่เป็นเนื้อหาเหมาะสมแก่การเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในการสอนช่วยครูในด้านการคุมพฤติกรรมการเรียนรู้และสามารถสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากทีเดียว สื่อการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ เช่น การใช้ศูนย์การเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสาธิต การแสดงนาฏการ เป็นต้น ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วยประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนมากขึ้นจากข้อมูลเราจะได้เห็นถึงประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน ซึ่งทำให้เรามองเห็นถึงความสำคัญของสื่อสารมีประโยชน์และมีความจำเป็นสามารถช่วยพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
       1.สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สื่อเล็ก ซึ่งทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียง และ อักษรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่างแท้จริงและกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
       1.1วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่หนังสือเรียนหรือตำราของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศ เป็นต้น
       1.2วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกลไก เป็นตัวนำเสนอความรู้ได้แก่ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ ฟิล์มสตริป เส้นเทปบันทึกเทป รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ รายการที่ใช้เครื่องช่วยสอน เป็นต้น
       2. สื่อประเภทเครื่องมือ หรือโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ สื่อใหญ่ ที่เป็ฯตัวกลางหรือทางผ่านของความรู้ ที่ถ่ายทอดไปยังครูและนักเรียน สื่อประเภทนี้ตัวมันเองแทบไม่มีประโยชน์ต่อการสื่อความหมายเลยถ้าไม่มีใครรู้ในรูปแบบต่าง ๆ มาป้อนผ่านเครื่องกลไกลเหล่านี้ สื่อประเภทนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยสื่อประเภทวัสดุ บางชนิดเป็นแหล่งความรู้ให้มันส่งผ่าน ซึ่งจะทำให้ความรู้ที่ส่งผ่านมีการเคลื่อนไหวไปสู่นักเรียนจำนวนมาก ได้ไกลๆ และรวดเร็ว และบางทีก็ทำหน้าที่เหมือนครูเสียเอง เช่น
เครื่องช่วยสอน ได้แก่เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องบันทึกเสียง
เครื่องรับวิทยุ เครื่องฉายภาพนิ่งทั้งหลาย
       3.สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ตัวกลางในกระบวนการเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องใช้แต่วัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น บางครั้งจะต้องใช้เทคนิคและกลวิธีต่าง ๆ ควบคู่กันไป โดยเน้นที่เทคนิคและวิธีการเป็นสำคัญ 


คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน้
       1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน
       2.ขจัดปัญหาเกียวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
       3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม
       4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
       5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
       6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ
       7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ
       8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม 



ระบบสื่อการศึกษา
       นับตั้งแต่มนุษย์ได้รู้จักนำเอาสื่อ (media) มาใช้ในการสื่อความหมายก็ได้มีการพัฒนาเรื่อยมา จากสื่อที่ใช้สัญลักษณ์ รูป มาจนถึงสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ โดยธรรมชาติแล้วสื่อแต่ละประเภทจะมีคุณค่าอยู่ในตัวของมันเอง เพียงแต่ว่าผู้ผลิตและผู้ใช้จะสามารถดึงเอาคุณค่านั้นมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด สื่อใดก็ตามถ้าได้มีการวางแผนดำเนินการผลิตการใช้ อย่างมีระบบ ย่อมเกิดประโยชน์ทางการศึกษา ตามจุดมุงหมายที่วางไว้ วิธีการระบบสามารถนำมาใช้กับกระบวนการสื่อได้ทุกกระบวนการเช่น การเลือก การผลิต การใช้เป็นต้น

ในการเลือกสื่อด้วยวิธีระบบนั้น กูดแมน ได้เสนอวิธีการเลือกไว้ตามลำดับดังนี้

       1.พิจารณาดูว่าในจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมได้กำหนดให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมโดยการดู การฟัง หรือการกระทำ
       2.พิจารณาดูคุณลักษณะของผู้เรียน (อายุ ระดับชั้น ระดับสติปัญญา พัฒนาการทางการอ่านลักษณะทางร่างกาย พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น ) จะบ่งบอกได้ว่าสามารถใช้สื่อกับเด็กคนนั้นหรือกลุ่มนั้นได้บ้าง
       3.พิจารณาดูว่ามีสื่ออะไรบ้าง ที่จะสามารถนำมาใช้เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ และใช้กับกลุ่มผู้เรียนที่มีลักษณะตามที่ต้องการดังกล่าวแล้วจะเกิดประโยชน์สูงสุด
       4.พิจารณาวิธีการนำเสนอที่จะใช้ได้อย่างเหมาะสม และในการนำเสนอนั้นมีสื่ออะไรบ้าง จะต้องเตรียมเครื่องมือประเภทใดในการนำเสนอครั้งนั้น
       5.นำเสนอเครื่องมือ โดยการสำรวจดูว่าเครื่องมือเทคโนโลยีทางการศึกษาที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการเรียนครั้งนี้ที่มีอยู่ในสถานศึกษาหรือไม่ ถ้าไม่มีจะซื้อหรือหามาด้วยวิธีใด
       6.การวิเคราะห์สื่อและสำรวจสื่อที่ต้องการ โดยการวิเคราะห์สื่อในสถานศึกษาว่ามีอะไรบ้างที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนเนื้อหานั้น ๆ ให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้
       7.วิเคราะห์ขีดความสามารถของหน่วยงานผลิตสื่อที่ไม่ให้บริการหรือไม่มีขายได้หรือไม่ ถ้าผลิตเองได้ต้องวิเคราะห์ต่อไปอีกว่ามีงบประมาณที่จะใช้ในการผลิตหรือไม่และได้มาจากไหน
       8.พิจารณาดูว่าสื่อต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้กับวิธีการนำเสนอนั้น ๆ มีความเหมาะสมทั้งในแง่คุณภาพและราคาเพียงใดแล้วนำมาจัดลำดับความสำคัญสำหรับการเลือก
       9.เลือกวิธีการและสื่อที่มีประสิทธิภาพสูง โดยเลือกตัวเลือกที่มีคุณภาพ และราคาเหมาะสม
       10.เลือกสื่อหรือผลิตสื่อที่ต้องการ ในขั้นนี้ ผู้ใช้จะได้สื่อที่ต้องการ แต่ถ้าสื่อนั้นไม่มีจะนำไปผลิตต้วยวิธีการระบบ
จะเห็นได้ว่า ในกระบวนการใช้วิธีการระบบในการเลือกสื่อ จะมีขั้นตอนที่ผูกพันกับการผลิตสื่ออยู่ด้วย
การเลือกและจัดหาสื่อการเรียนการสอน
            ในการเลือกสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบในการเลือกสื่อได้แก่ จุดมุงหมายของการสอน รูปแบบและระบบของการเรียนการสอนลักษณะของผู้เรียน เกณฑ์เฉพาะของสื่อ วัสดุอุปกรณ์และตลอดจนสิ่งอำนวยความสดวกที่มีอยู่นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของสื่อกับคุณสมบัติเฉพาะและจุดประสงค์ของการเรียนการสอน 



อ้างอิงจาก
http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=5&group_id=23&article_id=194

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา


คำว่า เทคโนโลยี เป็นคำที่ใช้ทับศัพท์คำว่า Technology ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นผลจากการศึกษา ค้นพบทางด้านวิทยาศาสตร์ แล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้น เทคโนโลยีทางการศึกษาจึง หมายถึง การนำเทคโนโลยีบางอย่างมาประยุกต์ใช้กับการศึกษา เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดง่ายและรวดเร็วขึ้น

คำว่า นวัตกรรม และ เทคโนโลยี จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกัน แม้ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์และสิ่งประดิษฐ์มาประยุกต์ โดยมีกระบวนการกระทำ หรือ การจัดการทำให้เกิดนวัตกรรมขึ้นมาก็ตาม แต่คนส่วนใหญ่ มักจะใช้คำว่า เทคโนโลยี แทน โดยเฉพาะในปัจจุบันได้มีการประยุกต์วิธีการ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ( Information and Communication Technology ) ซึ่งประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารทางไกลเป็นองค์ประกอบหลักเข้ามาใช้ในการศึกษา จึงมักเรียกว่า การใช้เทคโนโลยี และการสื่อสารการศึกษา หรือที่เรียกย่อว่า การใช้ ICT ทางการศึกษา แทนที่จะใช้คำว่า “ นวัตกรรมทางการศึกษา ” และเพื่อให้สอดคล้องกับความนิยมในการใช้คำเช่นนี้ ในบทเรียนนี้จึงใช้คำว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา แทน โดยให้หมายถึง นวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยี และ การสื่อสารเป็นองค์ประกอบหลักที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ทางการศึกษา ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในการศึกษาปัจจุบัน
ความหมายของระบบสารสนเทศ

ระบบที่จะนำมาใช้ในการบริหารงานในที่นี้ ได้แก่ ระบบสารสนเทศ ( Information System ) ซึ่ง อนันต์ เกิดดำ ( 2548 ) ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

ระบบสารสนเทศ คือ เซ็ตขององค์ประกอบที่สัมพันธ์กันซึ่งรวบรวม ประมวล จัดเก็บ และ เผยแพร่สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร ( ดูภาพประกอบที่ 8.1 ประกอบ )

ภาพที่ 8.1 แสดงโครงสร้างของระบบสารสนเทศ


จากภาพที่ 8.1 จะเห็นได้ว่า โครงสร้างหลักของสารสนเทศ ประกอบด้วย ข้อมูลนำเข้า การประมวลผล สารสนเทศ โดยมีข้อมูล ย้อนกลับเป็นตัวควบคุม

1. ข้อมูลนำเข้า ( Input ) คือ ข้อมูลที่จำเป็น เพื่อนำเข้าสู่ระบบเพื่อจะทำให้เกิดการประมวลผลขึ้น ข้อมูลที่จำเป็นจะมาจากสภาพแวดล้อมของระบบ ส่วนจะเป็นอะไรนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละระบบ เช่น ถ้าเป็นระบบบริหารในสถาบันการศึกษา ข้อมูลนำเข้าอาจประกอบด้วย อาจารย์ นักเรียน อาคารเรียน รายวิชาต่างๆ
2. การประมวลผล ( Processing ) คือ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบข้อมูลให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย ซึ่งอาจจะได้แก่ กาคำนวณ การสรุป หรือ การจัดหมวดหมู่ของข้อมูล การประมวลผล ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ดังนี้
2.1 บุคลากร หมายถึง บุคคลที่ทำงานในองค์กรในฝ่ายสารสนเทศ
2.2 กระบวนการ หมายถึง ขั้นตอนการทำงานซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อให้การทำงานได้ผลตามที่ต้องการ
2.3 ฮาร์ดแวร์ หมายถึง เครื่องมือทั้งหมดที่ใช้ในระบบสารสนเทศ
2.4 ซอฟต์แวร์ หมายถึง ซอฟต์แวร์ระบบ และ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้ในระบบทั้งหมด
2.5 แฟ้มข้อมูล หมายถึง ข้อมูลที่เก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการประมวลผลคราวต่อไป ข้อมูลเหล่านั้นจะเก็บในหน่วยความจำสำรองของคอมพิวเตอร์
3. ผลลัพธ์ ( Output ) คือสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล ซึ่งจะปรากฏอยู่ในรูป รายงานต่างๆ คุณลักษณะของสารสนเทศที่มีคุณภาพ ได้แก่
3.1 ตรงตามความต้องการ ( Relevancy ) หมายถึง ลักษณะสารสนเทศนั้นสามารถที่จะตอบคำถามในลักษณะที่เจาะจงได้ เช่น ในการขายเสื้อผ้าผู้ชาย ถ้าถามว่า เสื้อผ้าแบบไหน สีไหน ขายได้ดีที่สุด
3.2 ตรงต่อเวลา ( Timeline ) หมายถึง สารสนเทศที่ผลิตออกมานั้น จะผลิตออกมาทันกับความต้องการของผู้ใช้
3.3 ความเที่ยงตรง ( Accuracy ) หมายถึง สารสนเทศจะต้องไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดและมีข้อผิดพลาด ลักษณะที่บ่งบอกถึงความเที่ยงตรงได้แก่
3.3.1 ความสมบูรณ์ ( Completeness ) สารสนเทศที่จำเป็นจะต้องมีอย่างครบถ้วน
3.3.2 ความถูกต้อง ( Correctness ) สารสนเทศจะต้องมีความถูกต้อง
3.3.3 ความปลอดภัย ( Security ) สารสนเทศจะต้องมีความปลอดภัย นั่นคือ ถ้าส่วนไหนจะให้ใครใช้
ก็ใช้ได้เฉพาะคนนั้นเท่านั้น
3.4 ประหยัด ( Economy ) หมายถึง การใช้ทรัพยากรที่จะผลิตสารสนเทศนี้มาใช้ในการแก้ปัญหาจะต้องไม่แพงมาก
3.5 มีประสิทธิภาพ ( Efficiency ) หมายถึง ศักยภาพในการพัฒนาสารสนเทศต่อหนึ่งหน่วยของทรัพยากรที่ใช้ เช่น ความตรงต่อเวลาต่อหนึ่งบาท เป็นต้น
4. ส่วนย้อนกลับ ( Feed back ) เป็นส่วนที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของการประมวลผล เพื่อให้การประมวลผลนั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลจากการเปรียบเทียบจะนำไปสู่การปรับปรุงข้อมูลนำเข้า หรือกระบวนการประมวลผล


ประเภทของระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์กร
ปัจจุบัน ระบบสารสนเทศเป็นที่นิยมใช้ในองค์การทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ หรือ ขนาดเล็ก ระบบสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ในองค์กรทั่วๆ ไป จำแนกได้ ดังนี้
1. ระบบประมวลผลรายการ ( Transaction Processing System : TPS )
ระบบประมวลผลรายการเป็นพื้นฐานของระบบธุรกิจ ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในระดับปฏิบัติการระบบจะใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกรายการประจำวันในการทำธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ระบบการสั่งซื้อ ระบบการจองห้องพัก ระบบเงินเดือนและ ค่าจ้าง ระบบรับและสั่งสินค้าออก
เนื่องจากการบริหารในระดับปฏิบัติการ งานกฎเกณฑ์ และ เงื่อนไขได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแน่นอนแล้ว ดังนั้นการตัดสินใจจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้วเท่านั้น ตัวอย่างเช่น การตัดสินใจจะให้เครดิตแก้ลูกค้าของธนาคาร สิ่งที่ผู้บริหารในระดับนี้จะตัดสินใจว่าจะให้หรือไม่ เขาจะทำได้ก็เพียงแต่ตรวจว่าลูกค้ามีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้หรือไม่เท่านั้น
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร ( Management Information System : MIS )
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหรือที่นิยมเรียกกันทั่วไป ว่า ระบบ MIS คือ ระบบที่ผลิตสารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการเพื่อใช้ในการบริหารงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบจะผลิตรายงานเพื่อผู้บริหาร บางกรณี ผู้บริหารอาจจะเรียกใช้ด้วยระบบออนไลน์ โดยทั่วไปแล้วระบบ MIS จะเป็นข้อมูลภายในองค์กร ไม่เกี่ยวกับข้อมูลภายนอก หรือ ข้อมูลสภาพแวดล้อม ในเบื้องต้น MIS จะผลิตสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร โดยเฉพาะในด้านการวางแผน การควบคุม และ การตัดสินใจ
3. ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ ( Decision Support System : DSS )
ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจส่วนมาก เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้การตัดสินใจ ของผู้บริหารเป็นไปได้อย่างสะดวก ระบบจะสามารถสรุปหรือเปรียบเทียบข้อมูลจากทุกแหล่งไม่ว่า จะเป็นข้อมูลภายใน หรือ ข้อมูลภายนอกองค์กร แหล่งข้อมูลภายใน ได้แก่ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลในองค์กรที่มีอยู่แล้ว เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการขาย ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิต ข้อมูลทางด้านการเงิน ข้อมูลจากแหล่งภายนอก ได้แก่ ข้อมูลด้านอัตราดอกเบี้ย ข้อมูลแนวโน้มประชากร หรือ ข้อมูลด้านความต้องการของตลาดโลก ระบบการตัดสินใจส่วนมากเป็นระบบที่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับ คอมพิวเตอร์ และ จะมีความสามารถในการวิเคราะห์ค่าทางสถิติ มีตารางการทำงาน มีกราฟแบบ ต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ประเมิน
ข้อมูลในการตัดสินใจในระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ก้าวหน้ามาก ผู้ใช้อาจจะสร้างแบบจำลองของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจ ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ดี อาจสรุปได้ ดังนี้
1. ระบบจะต้องใช้ช่วยผู้บริหารในกระบวนการตัดสินใจ
2. ระบบจะต้องสามารถสนับสนุนการตัดสินใจได้ทุกระดับ แต่จะเน้นที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนกลยุทธ์
3. ระบบมีความสามารถในการจำลองสถานการณ์ และ มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ตัดสินใจ
4. ระบบจะต้องสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลขององค์กรได้
5.ระบบจะต้องเป็นระบบที่ตอบโต้กับผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานได้ง่าย ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยพึ่งความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญน้อยที่สุด
4. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง ( Executive Support System : ESS )
ระบบสารสนเทศเพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงเป็นระบบที่ช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงเป็นระบบที่ช่วยให้ผู้บริหารระดับสูง ติดตามผลการปฏิบัติงานขององค์การ ติดตามกิจกรรมของคู่แข่ง ชี้ให้เห็นปัญหา มองหาโอกาส และ คาดคะเนแนวโน้มต่างๆ ในอนาคต ในการนำ ESS มาใช้นั้น จะต้องออกแบบให้ระบบใช้ทั้งข้อมูลภายใน และ ข้อมูลภายนอกองค์กร นอกจากนี้ ยังต้องรวมเอาเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการจำลองการวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่น LOTUS1-2-3 ,EXCEL หรือโปรแกรมตารางการทำงานอื่นๆ
5 ระบบผู้เชี่ยวชาญ ( Expert System )
ระบบผู้เชี่ยวชาญมีส่วนคล้ายคลึงกับระบบอื่นๆ คือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ผู้บริหารแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบอื่นอยู่มาก เนื่องจากระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับ การจัดการความรู้ ( Knowledge management ) มากกว่าสารสนเทศ และ ถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์โดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์
( Artificial intelligence )
ระบบผู้เชี่ยวชาญจะทำการโต้ตอบกับมนุษย์โดยมีการถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่าง ให้ข้อแนะนำ และ ช่วยเหลือในกระบวนการตัดสินใจ นั่นคือ การทำงานคล้ายกับเป็นมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหานั้นๆ
เนื่องจากระบบนี้ ก็คือ การจำลองความรู้ของผู้เชี่ยวชาญจริงๆ มานั่นเอง โดยผู้เชี่ยวชาญในที่นี้อาจเป็นได้ทั้งผู้เชี่ยวชาญในการบริหาร ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องภาษี ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องยา หรือ แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญในการทำอาหารก็ตาม

หน่วยที่ 2
บทบาทของสารสนเทศในการบริหารองค์กรทางการศึกษา
สถานศึกษาสามารถนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาไปใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการทางการศึกษาได้อย่างหลากหลาย จะเห็นได้ว่า ลักษณะบางอย่างของเทคโนโลยี เช่น ความรวดเร็ว การจัดเก็บอย่างเป็นระบบ การทำงานที่ไม่ผิดพลาด และ การทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ตลอดจนลักษณะอื่นๆ อีกมาก ล้วนแต่สามารถนำมาใช้ในงานต่างๆ เพื่อให้ได้ผลที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็จะต้องคำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นจากจากการทำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ด้วย เช่น การขาดความเฉลียว การขาดการจำแนกความแตกต่างที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า ดังนั้น จึงต้องนำสิ่งต่างๆเหล่านี้เข้าไปอยู่ในระบบ เพื่อให้เกิดการทำงานที่เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
2.1 ลักษณะที่เทคโนโลยี สามารถเพิ่มเติมประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
ครรชิต มาลัยวงศ์ ( 2549 ) ได้กล่าวถึง เหตุผลที่หน่วยงานต่างๆ ควรนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการไว้ ดังนี้
2.1.1 การทำงานได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทำให้สามารถประยุกต์ไปใช้ในงานที่ต้องการให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องมีเวลาหยุด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การฝากและถอนเงินจากธนาคาร ซึ่งประยุกต์ใช้เครื่อง ATM ทำให้ลูกค้าสามารถฝากถอนเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่ก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยโดยสร้างที่เก็บเงินให้แข็งแรงและนำไปตั้งไว้ในที่ปลอดภัย หรือมิเช่นนั้นก็ต้องสามารถส่งสัญญาณไปยังสถานที่ซึ่ง สามารถส่งเจ้าหน้าที่ไปดูแลความปลอดภัยได้อย่างรวดเร็ว คุณลักษณะข้อนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานบริหารจัดการได้จำนวนมาก ในทางการศึกษาก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเรื่องต่างๆ ได้เช่นเดียวกัน เช่น
การเรียนรู้ด้วยระบบ e-Learning ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตลอดเวลาที่ต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องเรียนตามตารางที่กำหนดไว้อย่างตายตัว บางครั้งผู้เรียนอาจไม่มีความพร้อมที่จะเข้าเรียน หรือ บางครั้งกำลังเรียนด้วยความเข้าใจและอยากเรียนอย่างต่อเนื่อง แต่พอหมดเวลาที่กำหนดไว้ก็ไม่สามารถจะเรียนต่อได้ แต่ระบบ
e-Learning จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเลือกเวลาที่เหมาะสมที่สุดตามที่ตัวเองต้องการได้ โดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับผู้สอนหรือต้องคอยเรียนพร้อมกับผู้เรียนคนอื่นๆ
2.1.2 การทำงานได้โดยไม่มีผิดพลาด ทำให้สามารถนำไปใช้ในงานจำนวนมากที่ต้องการความถูกต้องและเกิดผลที่ถูกต้อง เช่น การตรวจข้อสอบ การอ่านบาร์โค้ด การที่คอมพิวเตอร์ สามารถทำงานดังกล่าวได้โดยไม่มีผิดพลาด ทำให้สามารถ นำไปประยุกต์ใช้กำหนดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคล หนังสือ สิ่งของ ตลอดจนสินค้า แต่ละรายการ โดยออกแบบให้คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลเข้าไปที่มีความแตกต่างกัน เช่น อาจจะเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ หรือ รหัสต่างๆ เมื่อพบข้อมูลที่กำหนดไว้ ก็จะสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ผิดพลาด
2..1.3 การทำงานได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถนำไปใช้กับงานที่มีปริมาณมาก ทำให้งานเสร็จได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว ในสมัยแรกๆ จึงมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานสำมะโน ประชากรซึ่งต้องมีการนำข้อมูลจำนวนมากมานับรวมกัน และ ยังมีการคำนวณจำนวนมากด้วย สำนักงานสถิติแห่งชาติ จึงเป็นหน่วยงานแรกๆ ที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงานในลักษณะดังกล่าว ในปัจจุบันได้มีการประยุกต์คุณลักษณะข้อนี้ ไปใช้อย่างกว้างขวาง เช่น การสื่อสารที่ต้องการความรวดเร็ว ข้อมูลที่ส่งมาจากแหล่งต่างๆ ที่อยู่ห่างไกลกันสามารถนำมาประมวลผลร่วมกันภายในเวลา อันรวดเร็ว เช่น การรวมคะแนนจากหน่วยเลือกตั้งจำนวนมาก สามารถนำมาประมวลผลและประกาศผลได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง ในทางการศึกษาก็มีงานลักษณะเช่นนี้เป็นจำนวนมาก เช่นกัน เช่น การจัดทำข้อมูลการคัดเลือกเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย และ การประกาศผลสอบคัดเลือก เป็นต้น
2.1.4 การทำงานอย่างเป็นระบบ ทำให้เกิดความชัดเจนของขั้นตอนการทำงาน รายละเอียดของข้อมูลนำเข้า และ รายละเอียดของผลผลิตของงาน ก่อนที่จะใช้คอมพิวเตอร์ทำงานจำเป็นต้องคิดวิเคราะห์ และ ออกแบบระบบงานให้ชัดเจนเสียก่อน ต่อจากนั้นจึงจะสร้างระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยทำงาน ในการทดลองระบบงานหรือในการทำงานจริง ถ้าพบข้อมูลผิดพลาดใดๆ ก็สามารถตรวจสอบและค้นหาสาเหตุ หากพบสาเหตุที่ผิดพลาดก็จะสามารถแก้ไขชุดคำสั่งงานและทดลองจนกว่าจะได้ผลตามที่ต้องการ ผลจากการทำงานอย่างเป็นระบบทำให้มีการนำเทคโนโลยีนี้เข้ามามาใช้งานแทบทุกอย่าง ซึ่งนอกจากจะได้ผลงานตามความต้องการแล้วยังสามารถตรวจสอบองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจนทุกขั้นตอนอีกด้วย
2.2 การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา
การที่นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษามีคุณลักษณะที่ดีหลายประการ ดังกล่าวข้างต้น จึงได้มีการพัฒนาและนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการทางการศึกษา เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการงาน ในการประยุกต์เข้าไปช่วยด้านการบริหาร จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นการเฉพาะด้วย องค์ประกอบของเทคโนโลยีการศึกษาก็เช่นเดียวกัน หากจะนำไปใช้ในการบริหารจัดการก็ต้องเตรียมความพร้อมของทุกองค์ประกอบ และให้องค์ประกอบเหล่านั้นทำงานอย่างสอดคล้องกัน โดยต้องดำเนินการในเรื่องที่สำคัญ ดังนี้
2.2.1 การจัดทำแผนการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ต้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจและเตรียมตัวในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องให้ประสานสอดคล้องกัน การเตรียมงบประมาณรองรับเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอ ขณะเดียวกันก็ต้องเตรียมคนที่จะดูแลระบบงานใหม่เพื่อให้สามารถทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ สิ่งสำคัญที่จะละเลยไม่ได้คือ ผู้เกี่ยวข้องที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้จำเป็นต้องได้รับทราบ และ ทำความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย
2.2.2 การพัฒนาหรือจัดหาระบบเทคโนโลยีที่ต้องการนำเข้ามาใช้ จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยมีการพิจารณา ศึกษาวิเคราะห์ และ คัดเลือกด้วยวิธีการที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน ขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลาและต้องเกิดความมั่นใจว่าจะได้ระบบที่ดีที่เหมาะสมต่อการใช้งาน การให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เข้ามาช่วยจัดหาระบบจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยเฉพาะการเปรียบเทียบระบบที่มีใช้กันอยู่แล้ว กับระบบที่สร้างขึ้นใหม่ หรือ การเลือกใช้ระบบที่มีใช้กันอยู่ที่อื่น แต่อาจจะต้องพัฒนาปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จะต้องกำหนดรายละเอียดให้ชัดเจน และ ให้รวมไปถึงการจัดหาคณะผู้พัฒนาระบบ หรือ ผู้ให้บริการที่จะปรับปรุงพัฒนาระบบที่จะนำมาใช้ในสถานศึกษาที่จะนำเทคโนโลยีนั้นมาใช้บริหารจัดการ
2.2.3 การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม มีความสำคัญต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อการบริหารจัดการมาก เนื่องจากระบบงานด้านเทคโนโลยี มีองค์ประกอบจำนวนมากทั้ง Hardware , Software , และ Application องค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้ จะต้องสอดคล้องกัน ปัญหาที่มักพบก็คือการใช้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกที่ไม่เข้าใจความต้องการที่แท้จริงขององค์กร หรือการใช้บุคลากรขององค์กรที่ขาดความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลายเพียงพอต่อการเลือกองค์ประกอบดังกล่าวให้เหมาะสมกัน โดยเฉพาะความทันสมัยของเทคโนโลยีของแต่ละองค์ประกอบที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การมีคณะจัดหาระบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม จึงควรใช้ผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรขององค์กรร่วมกัน โดยคณะทำงานนี้จะต้องมีเวลาร่วมกันพิจารณาและจัดทำรายละเอียดให้ชัดเจนเพื่อให้ระบบที่ดีที่สุด ในระหว่างที่มีการพิจารณาจัดหาอาจจะต้องไปศึกษาดูงานจากการใช้จริงขององค์กรอื่นที่เทียบเคียงกันได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างดี
2.2.4 การพัฒนาบุคลากรที่ควบคุมการใช้เทคโนโลยี เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้การทำงานประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ บุคลากรที่ควบคุมการใช้เทคโนโลยีจะต้องพัฒนาให้มีความรู้และสามารถทำงานตามข้อกำหนดของการใช้เทคโนโลยีได้อย่างครบถ้วน ในขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนาหรือทำความเข้าใจกับผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องให้สามารถประยุกต์งานที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับระบบงานใหม่ที่นำมาใช้ด้วย มิเช่นนั้นอาจจะพบว่ากว่าจะใช้งานได้พร้อมเพรียงกัน เทคโนโลยีที่นำมาเข้ามาใช้ก็ล้าสมัยและจำเป็นต้องปรับปรุงใหม่ ทั้งๆที่ผลงานที่ได้ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด
2.2.5 การบำรุงรักษา เป็นเรื่องสำคัญมากที่การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาจะต้องมีแผนการบำรุงรักษาระบบงาน ซึ่งมีทั้ง Hardware , Software และ การพัฒนาบุคลากร ในการบำรุงรักษา Hardware จำเป็นต้องมีการปรับปรุงอุปกรณ์บางส่วนให้ทันสมัย อุปกรณ์บางส่วนต้องดูแลตามกำหนด Software บางส่วนต้องปรับปรุงให้รองรับกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป และ ระบบงานบางส่วนต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความต้องการในการใช้งาน นอกจากนั้น ยังต้องคำนึงถึงการเพิ่มจัดทำระบบใหม่เพิ่มเติมที่ควรจะต้องสามารถเชื่อมต่อกับระบบเดิม และ นำข้อมูลที่เกี่ยวข้องไปใช้งานร่วมกัน หากข้อมูลจากระบบเดิมไม่สามารถหรือ ไม่สะดวกที่จะนำไปใช้กับระบบงานใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามา จะทำให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการและจะนำไปสู่การเลิกใช้ระบบใดระบบหนึ่งต่อไป หรือมิเช่นนั้นก็ต้องจัดทำระบบใหม่และ เลิกระบบที่สร้างขึ้นทั้งหมด ดังนั้น การบำรุงรักษาระบบงานให้เหมาะสมต่อความต้องการที่มีการเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับเทคโนโลยีจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง และ ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นคุณค่าและเกิดเจตดติที่ดีต่อการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการอีกด้วย
2.2.6 การติดตามประเมินผล ระบบงานบริหารจัดการที่ใช้เทคโนโลยี เข้ามาช่วยควรมีการประเมินผลอย่างน้อย 2 ส่วน ด้วยกัน ส่วนแรกต้องประเมินผลงานที่กำหนดไว้ในแผนงาน เช่น ความสามารถให้บริการตามเป้าหมาย การนำเสนอรายงานตามกำหนดเวลา ส่วนที่สองที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ก็คือ การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ เพื่อสะท้อนให้เห็นสถานภาพของระบบงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ ในด้านความเร็ว ความแม่นยำถูกต้อง และ ความสะดวกในการใช้ระบบงาน การติดตามประเมินผลควรจะมีระยะเวลากำหนดไว้ตลอดช่วงเวลาในแต่ละปี หากพบข้อบกพร่องหรือมีข้อเสนอแนะที่ควรแก่การแก้ไขปรับปรุงก็ควรพิจารณา และ ปรับปรุงให้สอดคล้องตรงตามความต้องการของผู้ใช้อย่างต่อเนื่อง



อ้างอิงจาก
http://nilnate.blogspot.com/2009/02/blog-post_15.html
http://www.oknation.net/blog/kigmad/2011/06/30/entry-2